สัญลักษณ์ประเภทพลาสติกนำกลับรีไซเคิลได้มีอะไรบ้างมาดูกัน
ประเภทพลาสติกรีไซเคิล สามารถแบ่งได้เป็น 7 ประเภท
หมายเลข 1 PETE (Polyethylene Terephthalate)
เป็นพลาสติกโพลีเมอร์ใส เนื้อเหนียว มีความทนทาน และมีคุณสมบัติในการผ่านของของเหลวและก๊าซได้ดี จึงนิยมนำมาใช้ผลิตเป็น ขวดน้ำดื่ม หรือ ขวดใส่แชมพูขวดสบู่เหลว ขวดโลชั่น เช่น ขวดหัวปั๊ม มีสัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 1 สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็นเส้นใย สำหรับทำเสื้อกันนาว พรม และเส้นใยสังเคราะห์สำหรับใส่ในหมอนได้
พลาสติกรีไซเคิล เบอร์ 2 HEPE หรือ High Density Polyethylene
เป็นพลาสติกที่มีความหนาแน่นสูง แข็งแรง แต่โปร่งแสงน้อยกว่า LDPE (Low-Density Polyethylene) ทนกรดและด่าง มีจุดหลอมเหลวไม่สูงนัก ทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำ จึงเป็นที่นิยมอย่างมาก สามารถใช้ผลิตเป็น ขวดแชมพู ขวดโลชั่น หรือขวดใส่น้ำยาต่างๆได้ มีสัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 2 สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็น ขวดน้ำมันเครื่อง ลังพลาสติก ได้เป็นต้น
พลาสติกรีไซเคิล เบอร์ 3 PVC หรือ Poly Vinyl Chloride
เป็นพลาสติกใส มีความแข็งแรง มีคุณสมบัติในการป้องการซึมผ่านของไขมันได้ดี นิยมนำมาใช้ผลิตเป็นท่อน้ำประปา ฉนวนหุ้มสายไฟ สายยางใส แผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร และ แผ่น PVC ปิดหน้าครีมบำรุงผิวหรือยาทาภายนอกได้ด้วย มีสัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 3 สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็นท่อน้ำ กรวยจราจร ม้านั่งพลาสติก ได้เป็นต้น
พลาสติกรีไซเคิล เบอร์ 4 : พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ หรือ LDPE
เป็นพลาสติกโปร่งแสง ความหนาแน่นต่ำ นิ่ม หนียว ยืดตัวได้มาก ไม่ค่อยทนความร้อน สามารถใช้ผลิตเป็น ถุงเย็นสำหรับใส่อาหาร ฟิล์มห่ออาหาร มีสัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 4 สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็น ถุงดำสำหรับใส่ขยะได้
พลาสติกรีไซเคิล เบอร์ 5 : โพลีโพพีลีน (PP) พลาสติกแข็ง
เป็นพลาสติกที่มีความใส ทนความร้อน เหนียว คงรูปได้ดี และยังทนต่อสารเคมีและน้ำมัน มักใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร เช่นกล่อง จาน ชาม ถ้วยโยเกิร์ต ขวดซอสต่างๆ ขวดยาเม็ด ขวดแชมพู ถุงร้อน และหลอดดูดน้ำ มีสัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 5 สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็น กล่องแบตเตอรีรถยนต์ ไฟท้ายรถยนต์ กันชน ไม้กวาดพลาสติก กระถางต้นไม้พลาสติกได้เป็นต้น
พลาสติกรีไซเคิล เบอร์ 7 หรือมีคำว่า OTHER
เป็นพลาสติกที่มีไม่ได้มีการระบุชื่อจำเพาะ แต่เป็นพลาสติกชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่ 6 ชนิดแรก แต่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ เช่น PC (Polycarbonate) มีสัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 7 นอกจากนี้เรายังสามารถแบ่งประเภทพลาสติกที่ใช้สำหรับ บรรจุอาหารได้ หรือที่เรียก พลาสติกฟู้ดเกรด (Food Grade)
แหล่งที่มา กรมควบคุมมลพิษ
https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2022/10/pcdnew-2022-10-04_03-56-30_859871.pdf